ฤาษีตบะแตก วิชาฤาษีตบะแตก เป็นวิชาว่าด้วยความอุดมสมบูรณ์
การพลิกฟื้นจากความแห้งแล้ง แร้งแค้น เหี่ยวเฉา ให้กลับคืนมาอุดมสมบูรณ์
ฤาษีตบะแตก สำหรับผู้ไม่รู้ ก็อาจจะคิดถึงความหมายในทางไม่ดี ฟังไปก็คล้ายกับนักบวชที่บำเพ็ญฝึกตน
แล้วไม่อาจจะข่มใจฝืนความต้องการได้ ทำให้ตบะแตก แต่ความจริงแล้วคำว่าฤาษีตบะแตกนั้นมีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นมาก
ฤาษีตบะแตก นั้นเป็นที่ครั่นคร้ามและเกรงกลัวไปทั่วสวรรค์ แม้กระทั่งพระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่แห่งชั้นดาวดึงส์ ยังร้อนรนทนอยู่ไม่ได้
เหตุเพราะตนเองโดนฤาษีสาบหลายครั้ง (โดนสาบให้มีโยนีฝุดขึ้นรอบร่างกาย ที่มาของนามท้าวหัสนัย)
จึงต้องหาทางส่งเทวดา นางฟ้า มารบกวนและหาทางทำลาย ไม่ให้ฤาษีบำเพ็ญตบะได้สำเร็จ
เพราะหากฤาษีตนใดก็ตามสามารถบำเพ็ญตบะได้ถึงระดับสูงแล้ว ก็จะสำเร็จมีฤทธิ์มากเสียกว่าเทวดา
ด้วยอำนาจแห่งสัจจะและความเพียรนั่นเอง อันเป็นข้อเตือนใจว่า คาถาอาคมหากจะขลังและศักดิ์สิทธิ์เกิดฤทธิ์ได้นั้น
ต้องถือสัจจะและความเพียรเป็นที่ตั้ง
ฤาษีตบะแตก มีหลายตำนานและหลายคติ คติที่รู้กันโดยส่วนใหญ่ จะอิงกับตำนานของฤาษีหน้ากวาง (พระฤาษีกไลยโกฎิ)
ที่บำเพ็ญตบะอย่างแรงกล้าจนทำให้แผ่นดินแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ชาวเมืองเดือดร้อน
ขาดแคลนอาหารเพราะไม่อาจทำการเพาะปลูกได้ ตรงนี้จะลงรายละเอียดเพียงคร่าวๆ เรื่องราวตำนานเต็มๆนั้นพอหาอ่านกันได้ไม่ยาก
ใครสนใจก็ไปหาอ่านกัน สรุปเรื่องราวของตำนานตรงนี้ก็คือ เป็นเรื่องราวอันเป็นปฐมเหตุแห่งการเกิดเรื่องราว รามเกียรติ์ นั่นเอง
ทีนี้จะว่าถึงวัตถุชุดล็อคเก็ตฤาษีตบะแตก ของสำนักฤษเวทย์ชุดนี้ วิชาที่สำนักสืบยกเรียนมา
จะไม่ได้อ้างอิงถึงตำนานของฤาษีกระไลยโกฎิ แต่วิชาฤาษีตบะแตกของสำนัก ว่าขึ้นจากตำนานฤาษีตบะแตกของพระอิศวร
อันเป็นเหตุการณ์ของช่วงตำนานก่อนการกำเนิดแห่งพระแม่อุมา ที่ยังเป็นพระนางปารวตี
ซึ่งคงไม่เล่าตำนานทั้งหมดของเรื่องราว เพราะมันจะยาวมาก ขอยกเอาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้มาบางส่วน
ก็คือเมื่อหลังเหตุการณ์นางสตีแล้ว พระอิศวรท่านก็เศร้าเสียใจ ท้อแท้อาลัยในเรื่องราวของความรัก
จึงได้มาบำเพ็ญตบะเพื่อละเรื่องราวแห่งโลก เหล่าเทพเทวาทุกสวรรค์ชั้นฟ้า เห็นดังนั้นก็ว่าคงไม่ดีแน่ เพราะหากเป็นเช่นนั้น
ชีวิตทั้งหลายในจักรวาลก็เป็นอันสิ้นสุด จึงได้ส่งพระนางปารวตีอันเป็นการเกิดใหม่ของนางสตี
แต่พระอิศวรก็ยังคงอยู่ในสันยาสีต่อไป จนกามเทพต้องมาแผลงศรใส่พระอิศวรให้รู้สึกตัว ผลคือกามเทพต้องสังเวยร่างกาย โดนไฟ
จากการลืมตารู้สึกกาย พ้นจากตบะแห่งพระอิศวรเผาผลาญไปจนสิ้น เมื่อออกจากการบำเพ็ญตบะ ก็พบพระนางปารวตี
พระอิศวรก็รู้ทันที ว่าคือการกลับมากำเนิดอีกครั้งของนางสตี จึงเกิดความรักและรับไว้เป็นชายา
จุดเริ่มต้นการเสพสมและร่วมรักกัน แห่งที่มาแห่งรูปลักษณ์ของการเสพสมระหว่างมหาเทพและมหาเทวีทั้งสอง
ที่ทำให้จักรวาลแห่งนี้หมุนตามวัฎจักรต่อไป ฤาษีตบะแตกจึงไม่ใช่ความหมายในทางที่แย่อย่างที่หลายๆคนคิดกันไป
ทางสำนักจัดทำขึ้นมาในครั้งนี้หาได้เป็นรูปลักษณ์ที่สื่อแค่ทางกามารมณ์เพียงอย่างเดียว อิงตามตำนานที่กล่าวมาข้างต้น
อันเป็นการพลิกฟื้นคืนจากความแห้งแล้ง อดอยาก ความอัตคัต ความหมองเศร้า ให้คืนกลับมามีชีวิตชีวา
เกิดความอุดมสมบูรณ์ ทั้งพลิกฟื้นดั่งกำเนิดเกิดชีวิตใหม่ เป็นวิชาที่ส่งเสริมครบถ้วนบริบูรณ์สำหรับความต้องการทางโลก
ความปรารถนาทางโลกียะสุข เพราะคติทางตันตระ เชื่อกันว่าคนเราหากไม่ได้เสพสุขจนล้นปรี่ เต็มที่จนถึงขีดสุดแล้ว
จะไม่มีทางคิดหาทางละเลิกหลุดพ้นจากโลกีย์เป็นอันขาด ตามคาถาบางตอนที่ว่า
ปูนอย่าให้ขาดเต้า ข้าวอย่าให้ขาดหม้อ กระดออย่าให้ขาดหี อันน่าจะเป็นคำจำกัดความที่อธิบายวิชานี้ได้อย่างชัดเจนในตัวที่สุดแล้ว
ครบถ้วนทุกอย่างเท่าที่มนุษย์จะต้องการในการใช้ชีวิต สิ่งใดที่ขาดไป วิชานี้ก็จะช่วยเสริมเติมสิ่งที่ขาดไป
ให้ชีวิตของคุณพบกับความสุขอันสมบูรณ์ ใครขาดเงินก็ได้เงิน ใครขาดรักก็ได้รัก
ขาดทั้งสองอย่างก็ได้ครบถ้วนทั้งสองอย่าง ด้วยอำนาจแห่งอิทธิวิชาฤาษีตบะแตก ที่ประจักษ์และเกิดผลกันมานักต่อนัก
ล็อคเก็ตชุดนี้เริ่มจัดสร้างและประจุอาคมยาวนานกว่า ๑ ปี มวลสารคร่าวๆ ผงว่านทางเสน่ห์
เช่นว่านดอกทอง ๗ ชนิด ว่านจูงนาง กล่อมนางนอน ว่านเสน่ห์จันทร์ ๔ ชนิด ว่านเทพรัญจวญ นางพญาหงส์ทอง ว่านกระจายทอง
ขุนแผนสะกดทัพ สาวร้อยผัว สาลิกาลิ้นทอง ว่านนางคุ้ม ฯลฯ น้ำมันทางเสน่ห์ของสำนักที่สะสมมา
สีผึ้งทางเสน่ห์ ผงยันต์ลบกระดานหลายยันต์หลายวิชา อาทิ ยันต์ห้าร้อยชู้ นะเข้าหา นะวนเวียน นะอ่อนใจรัก นะจักรวาล นะร่วมใจ
นะนารีรำพึง นะเงาะถอดรูป นะอุมลุม ฯลฯ ผงแป้งเสกทางทางสายใต้ สายลิเก
ฉากแดง ด้านหลัง ขวดผงยาแฝด ตะกรุดนะศิวลึงค์ นะอุมลุม พลอยแดง ตะกรุดนะศิวะลึงค์
ตะกรุดนะลุมลุม ขวดยาแฝด . ล็อคเก็ตชุดนี้ บริบูรณ์ครบถ้วนเท่าที่จะสามารถบริบูรณ์ได้ วาระเสกยาวนาน
ครบถ้วนทั้งมวลสาร ผ่านพิธีบวงสรวง ตั้งไหว้ถวายเครื่องสักการะครูรวมแล้ว ๑๒ วาระ