ว่าถึง ข้อห้าม 18+ การห้ามสตรีขึ้นคร่อม
บทความต่างๆที่ผมเขียน เป็นข้อสันนิษฐานและความเข้าใจของผมเอง ไม่ใช่มาตรฐานชี้วัดความถูกต้อง
ผิดหรือถูกใดๆ ไม่ควรนำไปหักล้าง หรือเป็นข้ออ้างในการจะฝ่าฝืนข้อห้ามของสำนักอื่นๆ ใดๆทั้งสิ้น
ถือว่าเข้าใจดีกันทุกๆคนที่อ่านบทความนี้แล้ว
.
..
....
"สตรีขึ้นคร่อม" หรือ "woman on top" แน่นอนว่าหลายคนต้องเคยผ่าน สำหรับบุรุษผู้ที่ชื่นชอบในกามรส
ปฎิเสธกันไม่ได้ว่าเป็นความปรารถนาอย่างนึง ที่อยากจะให้คู่ของเราขึ้นคร่อม
เพราะเป็นการแสดงออกถึงความเต็มใจ และความพิศวาสของคู่ที่มีต่อเรา ไม่ได้ฝืนใจ
และกิจกามนี้เราไม่ข่มขืนบังคับขืนใจใดๆ เรียกได้ว่าเป็นความพึงใจและเต็มใจทั้งสองฝ่าย ไม่ต่างจากการเบิร์น
ห้ามสตรีขึ้นคร่อม ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะเป็นเพราะค่านิยม "ชายเป็นใหญ่" ของบ้านเราที่กดสตรีเพศไว้
อีกทั้งการพยายามจะยัดเยียดเรื่องเพศเป็นเรื่องบัดสี และสตรีต้องรักนวลสงวนตัว
การที่สตรีแสดงความรู้สึกต้องการทางเพศ การขึ้นคร่อม ที่หมายถึงการไม่รักนวลสงวนตัว
การแสดงออกความต้องการทางเพศ และรวมไปถึงเป็นผู้คุมการโรมรันสังวาส
จึงเป็นเรื่องที่โดนกดไว้เป็นเชิงสัญลักษณ์อย่างนึง
สตรีขึ้นคร่อม ผมไม่รุ้ว่าเริ่มต้นจากที่ใด แต่ที่แน่ๆ มีอยู่ในคัมภีร์กามสูตรของอินเดีย "กามาสูตรา"
และก็ไปแพร่หลายเช่นเดียวกับคัมภีร์ทางศาสนาอื่นๆ บ้านเราผมไม่แน่ใจว่าเผยแพร่มาเมื่อใด
แต่สิ่งน่าสังเกตุอย่างนึง การห้ามสตรีขึ้นคร่อม ด้วยว่าไม่เหมาะสมไม่เพียงแค่มีในบ้านเราเท่านั้น
แต่ในอินเดียเองก็ด้วย
ผู้ที่อยู่วในวรรณะพราหมณ์ และเป็นพราหมณ์อย่างเต็มตัวแล้ว (ครองเรือน มีครอบครัวเป็นฝั่งฝา)
ห้ามสตรีขึ้นคร่อมโดยเด็ดขาดเช่นเดียวกัน
แต่จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างคือ ของบ้านเราเป็นข้อห้ามในเชิงเหยียดและพยายามกดไว้
ส่วนของอินเดียจะเป็นกึ่งๆคำสอนและปริศนาธรรมในตัว
แต่ก็ยังคงมีการกดไว้ด้วยวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่อยู่บ้าง
ในทางบ้านเรา เหตุผลที่ถือห้ามข้อนี้ ขอไม่นำมากล่าวถึง เพราะในแต่ละสำนักก็ล้วนอธิบายถึงเหตุผลกันอยู่แล้ว
ขอกล่าวถึงเฉพาะของผู้อยู่ในวรรณะพราหมณ์ ที่ไม่ค่อยจะมีคนทราบกันเท่าไหร่เป็นหลัก
ในวัฒนธรรมฮินดู นั้นถือเอาเพศชาย เป็นสัญลักษณ์แห่งการหลุดพ้น การพ้นโลกเป็นภาระของเพศชาย
โดยการกำหนดหลักการอาศรม ๔ คือการกระทำสันยาสี หาทางหลุดพ้นในบั้นปลายชีวิต เป็นหน้าที่ของเพศชาย
ส่วนเพศหญิง เป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิต สิ่งของ การให้กำเนิด การดูแลครอบครัว
การทึ่สตรีเพศจะมาขึ้นคร่อม หรือเหนือเพศบุรุษ จึงเป็นเสมือนการให้วัตถุมาอยู่เหนือหลักธรรม
ให้เรื่องทางโลก มาอยู่เหนือการพยายามอยู่พ้นโลก
เป็นการนำอาตมัน (อัตมัน)มาอยู่เหนือ ปรมัตมัน คือตัวตนทางโลกมาอยู่เหนือตัวตนแห่งพระเป็นเจ้า
เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะยอมรับได้ อีกนัยหนึ่งก็คือ การจะจมอยู่กับเรื่องทางโลกโดยไม่ยอมหาทางหลุดพ้นนั่นเอง
นี่คือเหตุแห่งข้อห้ามสตรีขึ้นคร่อมของวัฒนธรรมฮินดู
ส่วนของบ้านเรา ก็ตามแต่เหตุผลที่แต่ละสำนักจะกำหนดกัน ส่วนมันจะทำให้เสื่อมหรือไม่
ความเห็นส่วนตัวผมก็ไม่ต่างจากเรื่องการเบิร์น นั่นคือหากเป็นยันต์ของสำนักทึ่กำหนดห้ามไว้ และว่าเสื่อม
ของที่คุณไปลงจากสำนักนั้นๆก็เสื่อม
ทางที่ดีก่อนจะขอรับการสักยันต์ การลงวิชาใดๆ ศึกษาข้อห้ามและถามใจตัวเองก่อน ว่าปฎิบัติได้หรือไม่?
หากคิดว่าไม่ได้ ก็อย่าไปสักหรือรับการลงหรือถือวิชานั้นๆ
เพราะมันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการผิดครู หรือต้องธรณีสาร
การผิดครูแม้จะเล็กน้อย แต่หากรู้ทั้งรู้แล้วยังจะทำ อันนี้ก็ระวังหายนะจะมาเยือนในไม่ช้าครับ
เพราะไม่ต่างจากจงใจปรามาสครู
และยังมีบางท่านให้เหตุผลมาว่า อาจจะเหตุเพราะประจำเดือนหรือเปล่า
เพราะความเชื่อคือประจำเดือนคือของสกปรก อันนี้เป็นความเชื่อคตินึงครับจะว่าเพราะเหตุนึ้ก็ได้ เพียงแต่ๆๆๆๆ
ยังมีสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับประจำเดือนที่หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบ
ในบางคติ ประจำเดือนไม่ใช่ของต่ำ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยประจำเดือนแล้วไม่ได้เสื่อมตามที่เข้าใจ
กลับกันแล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์บางอย่าง ประจำเดือนกลับนำมาใช้เป็นสิ่งบูชาก็มี
แต่กลับกันที่โดนประจำเดือนแล้วเสื่อมนั้นกลับเป็น............. ผีครับ
เรื่องนี้รายละเอียดอีกยาว มีเวลาแล้วจะเรียบเรียงเขียนให้อ่านกันครับผม